วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้การจัดการภายในหน่วยงานด้าน IT
หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ
และมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ สมัยใหม่ รวมทั้งเพื่อให้การปฏิบัติงานภายในศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างมีระเบียบ
มีระบบ และเอื้อต่อการให้บริการผู้ที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งลดโอกาสที่จะก่อให้เกิด ความเสียหายที่ไม่ต้องการให้เกิดในระบบสารสนเทศ
2. เพื่อให้การจัดหาการมีและการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และหรือระบบการสื่อสารข้อมูลของหน่วยงานราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เหมาะสม และคุ้มค่ากับ
การลงทุน
3.
เพื่อให้มีระบบรักษาความปลอดภัยและการเข้าถึงด้าน
Hardware
Software
แฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล
และรายงานที่รัดกุมเหมาะสม
รวมทั้งเพื่อให้มีระบบป้องกัน
ความเสียหายที่เกิดจากข้อผิดพลาดหรือจากการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นภายในระบบงานคอมพิวเตอร์
4.
เพื่อให้ข้อมูลและหรือสารสนเทศ
ตลอดจนรายงานหรือผลลัพธ์อื่น ๆ
ที่จะได้จากระบบคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างมีถูกต้องครบถ้วน ทันเวลา และเชื่อถือได้
5.
เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรได้รับข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกต้องตรงกัน
และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยไม่ต้องบันทึกข้อมูลซ้ำ
ขอบเขตการควบคุม
ขอบเขตในการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.
การควบคุมทั่วไป
เป็นการกำหนดแนวทางการควบคุมการทำงานและกิจกรรมทั่ว ๆไป ที่จะมีผลให้การควบคุมระบบต่างๆ
ของศูนย์คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล
ซึ่งได้แก่
การควบคุมเกี่ยวกับการกำหนดแผนและนโยบายด้าน IT การกำหนดวิธีการในการปฏิบัติงาน การจัดโครงสร้างและแบ่งแยกหน้าที่
การควบคุมการใช้ด้าน Software และการ รักษาความปลอดภัยภายในศูนย์คอมพิวเตอร์
2. การควบคุมระบบงาน เป็นการกำหนดวิธีการควบคุมสำหรับระบบงาน
ซึ่งได้แก่การควบคุมเกี่ยวกับการสร้างความมั่นใจว่าธุรกรรม ( Transaction
) ทุกรายการที่
เกี่ยวข้องระบบงานคอมพิวเตอร์ ได้รับการอนุมัติ มีการนำเข้า
ตรวจสอบ และประมวลผล
อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ ภายในเวลาที่เหมาะสม มีการป้องกันดูแลแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล
หรือ Output รวมทั้งการลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ระบบงานและข้อมูล
และมีการควบคุมหรือลดโอกาสการทำลายระบบงานและข้อมูล
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
1.
การควบคุมทั่วไป
1.1 การควบคุมด้านการบริหารจัดการ
|
1.
นโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของรัฐบาล
2.
นโยบายด้าน IT
หรือแผนแม่บท IT ของหน่วยงาน
3.
งบประมาณที่ได้รับ
4.
วิสัยทัศน์ และความรู้ของผู้บริหาร
5.
ชนิดและประเภทของ Hardware
และ Software
6.
โครงสร้างของศูนย์คอมพิวเตอร์
และการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
7.
จำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถด้าน IT ในศูนย์คอมพิวเตอร์
8.
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสมัยใหม่
9.ระเบียบและวิธีปฏิบัติ
|
1.
แผนแม่บท IT ของหน่วยงานไม่สอดคล้องกับนโยบาย
และภารกิจของหน่วยงาน
รวมทั้งไม่มีการประชาสัมพันธ์หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้าน IT ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบ
2. แผนระยะยาวและแผนระยะสั้นไม่สอดคล้องกับแผนแม่บท
IT
3. ผู้บริหารไม่เข้าใจและไม่สนับสนุนงานด้าน IT
4.
เกิดการผูกขาดจากผู้ขายบางราย
|
1.
กำหนดให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วย
งานผู้รับผิดชอบทบทวนนโยบายด้าน IT และปรับเปลี่ยนแผนแม่บท
IT ให้สอดคล้องกับนโยบายและภารกิจของหน่วยงานและงบประมาณที่ได้รับและนำเสนอผู้บริหารทราบ
2.
ติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้าน IT และข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นเกี่ยวกับแผนการพัฒนางานด้าน
IT ให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทราบ
3.
หน่วยงานต้องจัดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ในการเสนอราคาหรือเข้ารับงานด้าน IT
4.
ติดตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจสอบรายชื่อผู้ชายที่ทำสัญญาซื้อขายกับหน่วยงานตามความเหมาะสม
|
มีการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานทราบอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับ
1.1
นโยบายหรือแผนแม่บท IT
1.2
ระบบงาน ข้อมูล และรายงาน
ที่มีอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของศูนย์คอมพิวเตอร์
2.
มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และหรือ Software ให้บริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายทราบอย่างทั่วถึง
|
1.
ติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ ตามแผนแม่บท IT อย่างสม่ำเสมอ
2.
ทบทวนการปฏิบัติงานด้าน IT
อย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่อง
3.
ติดตามประเมินผลการประชาสัมพันธ์แผนหรือนโยบายด้าน IT และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
5.
การจัดโครงการสร้างและอัตรากำลังในศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับภารกิจด้าน
IT
6.
อัตราการหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน
7.
เจ้าหน้าที่ด้าน IT
ปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
และไม่มีความรู้ความสามารถใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ได้มาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพได้
8.
ไม่มีแผนและงบประมาณสำหรับการพัฒนาเจ้าหน้าที่ด้าน IT อย่างต่อเนื่อง
|
5.
จัดให้มีการทบทวนโครงสร้างและอัตรากำลังภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภารกิจที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ในศูนย์คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
6.
จัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่งงาน ( Succession Plan ) รวมทั้งจัดจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้าน
IT เข้ามาช่วยงานด้าน IT เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น
7.
จัดให้มีการอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างเพียงพอทุกครั้งที่มีการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใหม่
8.
มีการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ให้แก่เจ้าหน้าที่ด้าน IT
9.
จัดทำแผนล่วงหน้าในการพัฒนาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้าน IT ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ
|
3.
ชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในศูนย์คอมพิวเตอร์
4.
สื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้าน IT
กับหน่วยงานหรือบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างสม่ำเสมอ.
5.
มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาและฝึกอบรมให้ทราบโดยทั่วกัน
|
4.
ประเมินความเหมาะสมของโครงสร้าง
อัตรากำลังและการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นครั้งคราว
5.
ประเมินผลแผนการ
สืบทอดตำแหน่งงานและผลการจ้างที่ปรึกษาและผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา
6.
ติดตามและประเมินศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้าน IT อย่างสม่ำเสมอ
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
9.
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามระเบียบและวิธีปฏิบัติที่กำหนด
|
10.จัดหางบประมาณและแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาและฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
11.
จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและแบบฟอร์มมาตรฐานในการรับส่งงานระหว่างเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และผู้ใช้
(
Users)
12.
จัดให้มีการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับระเบียบและวิธีปฏิบัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
|
6.
เวียนแจ้งระเบียบ
วิธีปฏิบัติคู่มือการปฏิบัติงานและแบบฟอร์มมาตรฐานในการรับส่งงานให้ทราบทั่วกัน
|
7.
ติดตามผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
1.2.
การควบคุมด้าน
Hardware
Software
และ
application
|
1.
ความต้องการใช้งานด้าน IT
2.
นโยบายในการพัฒนาระบบงานและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบงานของศูนย์คอมพิวเตอร์
3.
ประสิทธิภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการใช้งานของผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.
มาตรการการบริหารทรัพยากรด้าน IT (วัสดุ
ครุภัณฑ์ และของใช้สิ้นเปลืองต่างๆ
เช่น กระดาษต่อเนื่อง ผ้าหมึก Tape แผ่น Diskette)
|
1.
การจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์และระบบ
รวมทั้งการพัฒนาหรือการปรับปรุงแก้ไขระบบงานไม่สอดคล้อง
และไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน และอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ล้าสมัย.
2.
มีการพัฒนา/แก้ไข/ติดตั้ง/ใช้งาน ระบบงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เอกสารหลักฐานประกอบการออกแบบและเขียนโปรแกรมระบบงานไม่ครบถ้วนหรือสูญหายทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการดูแลหรือปรับปรุงแก้ไข
(
Maintainanc) ในภายหลัง
4.
Source
Program ระบบงานและเอกสารประกอบสูญหายหรือได้รับความเสียหายจากเหตุที่คาดไม่ถึง
|
1.
สำรวจความต้องการของผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก่อนการจัดซื้อจัดจ้างหรือก่อนการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขระบบงาน
2.
ผู้บริหารของหน่วยงานผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการงานด้าน IT และการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขระบบงาน
3.
กำหนดให้การพัฒนา//แก้ไข/ติดตั้ง/ใช้งาน
ระบบงานที่สำคัญต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ
4.
กำชับให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำเอกสาร ประกอบระบบงานให้ครบถ้วน
และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ 5. สอบทานกระบวนการหรือวิธีการจัดเก็บเอกสาร หรือ Media ที่ใช้ประกอบการออกแบบระบบงานรวมทั้งวิธีการเก็บหรือดูแลรักษา
Source Program อย่างสม่ำเสมอ
6.
กำหนดให้มีการ Backup
หรือทำสำเนา Source
Program ระบบงาน
และเอกสารประกอบที่สำคัญอย่างน้อย
2 ชุด และแยกสถานที่จัดเก็บ
รวมทั้งจัดทำทะเบียนคุมไว้เป็นหลักฐาน
|
1.
ประชาสัมพันธ์แผนการจัดซื้อจัดจ้างและแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทั่วกัน
2.
ชี้แจงหลักเกณฑ์หรือมาตรการในการปฏิบัติงานด้านการออกแบบการเขียนโปรแกรม รวมทั้งการจัดเก็บเอกสาร และ Source Program
ให้ทราบทั่วกัน
3.
ทำความเข้าใจโดยชี้แจงและจัดให้มี การประชาสัมพันธ์วิธีการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
|
1.
ติดตามผลการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์
รวมทั้งการพัฒนาระบบงานให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ได้จากการศึกษาและสำรวจความต้องการ
2.
สอบทานความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนาระบบงาน/การแก้ไข
/การจัดตั้ง/การใช้งาน/การจัดเก็บ และการดูแลรักษาระบบงาน
Hardware
และ Software
3.
ประเมินความเหมาะสมของวิธีการและมาตรการในการใช้ทรัพยากรด้าน IT
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
5.
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ถูกใช้งานอย่างไม่เหมาะสมและไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร
6.
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สูญหาย หรือเกิดการเสียหาย
.7.
ไม่มีมาตรการหรือแผนรองรับเหตุฉุกเฉินหรือการหยุดชะงักของระบบคอมพิวเตอร์
|
7.
จัดให้มีคู่มือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ถูกวิธี
8.
จัดให้มีระบบบำรุงรักษาที่ต่อเนื่องเหมาะสม
และครอบคลุมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกประเภท
9.
กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนคุมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งให้มีการสอบทานการลงทะเบียนคุมเป็นประจำ
และจัดให้มีการตรวจนับครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
10.
จัดให้มีการประกันภัยครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้กับงานสำคัญๆ
11.
จัดให้มีแผนรองรับเหตุฉุกเฉินหรือเหตุหยุดชะงักของระบบคอมพิวเตอร์
|
4.
ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับแผนสำรอง
หรือการดำเนินงานภายใต้แผนฉุกเฉินให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง
|
4.
ประเมินและตรวจสอบความเพียงพอและความทันสมัยของคู่มือการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
5.
ประเมินการใช้ประโยชน์จากครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ทุกรายการ
6.
ประเมินความเหมาะสมของระบบการประกันภัยครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
7.
ประเมินความเหมาะสมของแผนฉุกเฉินหรือระบบทดแทนเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
8.
การใช้ทรัพยากรด้าน IT
เป็นไปอย่างไม่เหมาะสม
ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองและใช้ประโยชน์อย่างไม่คุ้มค่า
|
12.
มีการซักซ่อมการทำงานภายใต้แผนสำรองหรือระบบทดแทนในส่วนที่เป็นระบบงานสำคัญๆ
ของหน่วยงานเป็นครั้งคราว หรือตามความเหมาะสม
13. จัดให้มีระบบบริหารและตรวจสอบการใช้ทรัพยากรด้าน IT ที่เหมาะสม
14.
จัดให้มีการอบรมและเสริมสร้างจริยธรรมหรือจิตสำนึกในการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ใช้ทรัพยากรด้าน
IT อย่างประหยัดและสมประโยชน์
|
5.
ชี้แจง ประชาสัมพันธ์ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรด้าน IT ที่ถูกวิธีและเหมาะสมให้กับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทราบ
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
1.3.
การควบคุมด้าน
การรักษาความปลอดภัย
ของศูนย์คอมพิวเตอร์
|
มาตรการหรือนโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยและการบำรุงรักษา
|
1.ระบบรักษาความปลอดภัยของศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอไม่รัดกุม
ทำให้มีการเข้าออกศูนย์คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
2.
ไม่มีมาตรการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารข้อมูล
รวมทั้งเกิดภัยอันตรายอื่นๆ เช่น Virus
Computer การจารกรรมข้อมูลหรือการHacker
3.
มีการนำ Software จากภายนอกและไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้ในหน่วยงาน
|
1.
จัดให้มีระบบเวรยามหรือมาตรการการรักษาความปลอดภัย
รวมทั้งการกำหนดสิทธิการเข้าออกศูนย์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมและรัดกุมและสิทธิการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูล
2.
กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
3.
กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนคุมการติดตั้งหรือการนำ Software
จากภายนอกเข้ามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงาน
|
1.
ชี้แจงประชาสัมพันธ์
และให้ความรู้เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยและภยันตรายต่างๆ
หรือความเสียหายจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ด้าน IT ที่ไม่เหมาะสม
ให้เจ้าหน้าที่ทราบทั่วกัน
2.
เวียนแจ้งมาตรการควบคุมการนำ Software มาจากภายนอกเข้ามาใช้ในหน่วยงาน
ให้ทราบทั่วกัน
|
1.
ประเมินความเหมาะสมของมาตรการรักษาความปลอดภัย
2.
ประเมินสถิติที่เกิดจากการฝ่าฝืนการเข้าออกศูนย์คอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
3.
ติดตามการใช้ Software
ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นครั้งคราว
4.
ติดตามหรือสอบทานการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยเป็นครั้งคราว
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
2.
การควบคุมระบบงาน
2.1
การควบคุมการเข้าถึงระบบงานแฟ้มข้อมูล และฐานข้อมูล
|
1.
มาตรการรักษาความปลอดภัยและกำหนดสิทธิในการเข้าถึงระบบงานและระบบข้อมูล
2.
ความรู้ความสามารถตลอดจนทักษะในการใช้ Hardware
Software และอุปกรณ์การสื่อสารของเจ้าหน้าที่ในศูนย์คอมพิวเตอร์และผู้ใช้
3.
จริยธรรมและความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
|
1.
ระบบรักษาความปลอดภัยรวมทั้งการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงระบบงาน และข้อมูลไม่รัดกุมหรือไม่เพียงพอ
2.
ไม่มีการพัฒนาระบบวานให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3.
ผู้ใช้ ( Users )
ขาดความรู้ความชำนาญในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานรวมทั้งการใช้ระบบงาน
|
1.
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบศึกษาทบทวนระบบรักษาความปลอดภัยและการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงระบบงาน
และฐานข้อมูลที่สำคัญ
2.ให้มีเจ้าหน้าที่จัดทำทะเบียนคุม USER
ID โดยเฉพาะ
3.
มีการปรับปรุงพัฒนาระบบและสิทธิหรื USER
ID ในการเข้าถึงระบบงานและระบบข้อมูลเป็นระยะๆ
4.
จัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงาน สำหรับผู้ใช้งาน ( Users )
ทุกระบบงานอย่างเพียงพอ
และจัดฝึกอบรมผู้ใช้รายใหม่อย่างสม่ำเสมอ
|
1.
สื่อสารและทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของหน่วยงานเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัย การใช้งานในระบบงานคอมพิวเตอร์ และการปฏิบัติงานด้าน IT
2.
สื่อสารให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบถึงการใช้ระบบงาน
|
1.
ประเมินความเหมาะสมของระบบรักษาความปลอดภัยและคู่มือการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ
2.
ประเมินผลการจัดอบรม
และประเมินผลเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรม
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
2.2. การควบคุมการนำเข้าข้อมูล
|
1.
ประสิทธิภาพของระบบงานและระบบคอมพิวเตอร์
2.
ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3.
ความพร้อมของเอกสารหรือข้อมูลที่จะนำเข้าระบบ
|
1.
บันทึกข้อมูลผิดพลาดไม่ครบถ้วน
ไม่ถูกต้อง
2. ข้อมูลที่บันทึกเข้าระบบไม่ได้รับการตรวจทาน
หรือสอบทานความถูกต้องก่อนการส่งต่อ
|
จัดให้มีการตรวจสอบข้อมูลหรือเข้าทั้งจัดให้มีรายงานจากโปนแกรมระบบงานสำหรับใช้ในการตรวจสอบ
หรือสอบทานความถูกต้องของข้อมูลก่อนการส่งต่อ
|
เวียนแจ้งให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทราบถึงมาตรการหรือวิธีการนำเข้าข้อมูล
|
ประเมินความเหมาะสมของมาตรการการนำเข้าข้อมูลเป็นครั้งคราว
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
2.3. การควบคุมด้านการประมวลผลเพื่อจัดทำข้อมูล
สารสนเทศและรายงาน
|
1.
ความต้องการใช้ข้อมูลและสารสนเทศของฝ่ายบริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.
แผนการปฏิบัติงานในห้องเครื่องคอมพิวเตอร์
3.
ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
4.
จริยธรรม และความซื่อสัตย์ของผู้นำข้อมูลเข้าระบบ
|
1.
ข้อมูลและรายงานที่ได้จากการประมวลผลไม่ตรงตามความต้องการ
หรือไม่ทันกับความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.
ไม่มีการวางแผนเกี่ยวกับความต้องการใช้ข้อมูลและรายงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง
3.
ไม่มีการจัดทำแผนหรือตารางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์
4.
เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ และขาดทักษะในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์คำสั่งในการประมวลผล
5.
เจ้าหน้าที่นำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
|
1.
ศึกษาความต้องการของผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อวางแผนล่วงหน้าในการจัดทำข้อมูลและรายงานให้ทันกับความต้องการ
2.
จัดให้มีตารางการปฏิบัติงาน
รวมทั้งใบสั่งงานหรือเอกสารการส่งมอบงานสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประมวลผลและจัดทำตารางการส่งงานให้ชัดเจนเพื่อให้ข้อมูลและรายงานส่งถึงมือผู้ใช้ในเวลาที่เหมาะสม
3.
มีการจัดระบบความคุมการรับส่งการแลกเปลี่ยนและการสื่อสารข้อมูลหรือรายงานให้ถึงมือผู้ใช้อย่างเป็นระบบครอบคลุม
และทันเวลาและมีการสื่อสาร
เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับจากผู้ใช้
4.
จัดให้มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและให้มีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานในเรื่องต่าง
ๆที่ เกี่ยวข้อง
5.
จัดอบรมแก่เจ้าหน้าที่ให้มีความเข้าใจเรื่อง
Conflict of interest
(ความขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์)
|
เผยแพร่คู่มือหรือหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทั่วกัน
|
1.
ประเมินผลการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศและรายงาน
2.
ประเมินความเหมาะสมของหลักเกณฑ์หรือมาตรการเกี่ยวกับการการประมวลผล
3.
ประเมินความเหมาะของการปฏิบัติงานและตารางการส่งมอบงาน
4.
ประเมินความเหมาะสมของการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประมวลผลเป็นครั้งคราว
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
2.4. การควบคุมด้านการรับ – ส่งข้อมูล ระหว่างระบบงานและระหว่างหน่วยงาน
|
มาตรการหรือระเบียบวิธีการในการรับส่งข้อมูล
และการสื่อสารข้อมูลในหน่วยงาน
และนโยบายในการรักษาความลับของข้อมูล
|
1.
ข้อมูลหรือรายงานที่เป็นความลับของหน่วยงานถูกนำไปเผยแพร่ หรือนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต
2.
การส่งต่อข้อมูลไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา
|
1.
กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในการนำข้อมูลหรือรายงานออกนอกสถานที่
หรือออกจากศูนย์คอมพิวเตอร์
2. จัดให้มีระบบควบคุมการรับส่งข้อมูล
หรือการส่งต่อข้อมูลระหว่างระบบงาน
|
เวียนแจ้งมาตรการรักษาความลับของข้อมูลและรายงานให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบทั่วกันรวมทั้งชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับเวลาและกระบวนในการส่งมอบงานในแต่ละขั้นตอน
|
ประเมินความเหมาะสมของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและรายงาน
รวมทั้งการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงระบบงานและระบบข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
|
แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านเทศโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
สภาพแวดล้อมการควบคุม
|
ปัจจัยเสี่ยง
|
กิจกรรมการควบคุม
|
สารสนเทศและการสื่อสาร
|
การติดตามและประเมินผล
|
2.5. การควบคุมดูแลรักษาระบบงาน แฟ้มและฐานข้อมูล
|
ระบบจัดเก็บและรักษาข้อมูล
|
1. ระบบจัดเก็บแฟ้มข้อมูลฐานข้อมูล
และรายงานต่างๆไม่ดี หรือไม่เหมาะสม
2. สื่อหรือ MEDIA ที่ใช้ในการสำรองข้อมูลไม่มีคุณภาพ
|
1. กำหนดระบบการจัดเก็บ
และสำรองแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล และรายงานต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
2.
จัดให้มีการสำรองข้อมูลให้ครบถ้วนตามความเหมาะสมของแต่ละระบบงาน
และตามเวลาที่กำหนด
3.
จัดให้มีการทดสอบความถูกต้องของข้อมูลที่สำรองไว้เป็นครั้งคราวและทำรายงานผลการทดสอบ
|
ประชาสัมพันธ์และชี้แจงมาตรการในการดูแลและเก็บรักษาระบบงาน
ระบบข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบ
|
ประเมินความเหมาะสมของระบบจัดเก็บและสำรองแฟ้มข้อมูล
ฐานข้อมูลและรายงาน
|